รายละเอียด
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่กู้ภัยและดับเพลิง กรมท่าอากาศยาน (2561)
แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่กู้ภัยและดับเพลิง กรมท่าอากาศยาน (2561) สำหรับสอบเข้าบรรจุเข้าทำงานราชการในหน่วยงาน กรมท่าอากาศยาน เนื้อหาปรับปรุงใหม่ล่าสุด ตามประกาศรับสมัครของหน่วยงาน มีสารบัญ และเลขหน้าระบุอย่างชัดเจน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น อ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย พร้อมเฉลยข้อสอบท้ายบท เรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เหมาะสำหรับเตรียมตัวสอบแข่งขันเพื่อบรรจุรับราชการ สามารถสั่งซื้อได้ที่ LINE ID : @xoj121n
รายละเอียดสารบัญ เนื้อหา แนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่กู้ภัยและดับเพลิง กรมท่าอากาศยาน
-
ความรู้เกี่ยวกับกรมท่าอากาศยาน
-
ความรู้ทั่วไป ภาค ก. วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ
-
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบรรเทาสาธารณภัย
-
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดับเพลิง
-
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับท่าอากาศยานและการบิน
-
แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่กู้ภัยและดับเพลิง 100 ข้อ
-
ความรู้รอบตัว สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
-
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
-
ไฟล์เสียง MP3 เทคนิคการแต่งกาย และ ตัวอย่างสคริปคำตอบ การสอบสัมภาษณ์เข้างานราชการ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์ 094-2511063 / 085-5655395
ประวัติกรมท่าอากาศยาน
- พ.ศ. 2456 กระทรวงกลาโหม ได้เริ่มงานกิจการการบินอย่างจริงจัง โดยตั้ง “แผนกการบิน” เพื่อทำหน้าที่
- พ.ศ. 2462 มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งว่า ให้กระทรวงกลาโหม ซึ่งมีกรมอากาศยานทหารบกร่วมอยู่ด้วยนั้น เป็นเจ้าหน้าที่อำนวยการในกิจซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเดินอากาศทั้งปวงโดยตลอด
- พ.ศ. 2464 ให้เปลี่ยนชื่อจาก กรมอากาศยานทหารบก เป็นกรมอากาศยาน
- พ.ศ. 2476 ได้มีการปรับปรุงระเบียบราชการบริหารขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งกระทรวงและกรมขึ้นไว้ โดยกรมการขนส่งแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานเลขานุการกรม และกองการบินพลเรือน
- พ.ศ. 2485 ได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในกรมการขนส่ง โดยมีกองขนส่งทางอากาศ ทำหน้าที่ควบคุมการขนส่งทางอากาศทั้งในและนอกประเทศ
- พ.ศ. 2497 มีพระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการกรมการขนส่งในกระทรวงคมนาคมใหม่ จึงได้มี “สำนักงานการบินพลเรือน” มีฐานะเทียบเท่ากองและมีการแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 3 กอง คือ กองเทคนิค กองควบคุมการจราจรทางอากาศ และกองบริการขนส่งทางอากาศ
- พ.ศ. 2506 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506 ขึ้นในส่วนของกระทรวงคมนาคม ได้ยกฐานะสำนักงานการบินพลเรือนขึ้นเป็นกรมการบินพาณิชย์ ทำหน้าที่ส่งเสริม และพัฒนาด้านการบินพลเรือนรวมทั้งพัฒนาท่าอากาศยานต่างๆ เพื่อใช้ในกิจการบินพลเรือนเกือบ 30 แห่ง
กิจการการบินพลเรือนมีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ และเพื่อให้การดำเนินการบริหารมีความคล่องตัว กรมการบินพาณิชย์จึงได้โอนงานในความรับผิดชอบบางส่วนให้หน่วยงานต่างๆบริหารในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น โอนงานบริหารท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ให้ บริษัท ท่าอากาศไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ เป็นต้น
- พ.ศ. 2545 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “กรมการบินพาณิชย์” เป็น “กรมขนส่งทางอากาศ” ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
- พ.ศ. 2552 มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อ “กรมการขนส่งทางอากาศ” เป็น “กรมการบินพลเรือน” เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจด้านการบิน ซึ่งครอบคลุมทั้งการขนส่งทางอากาศ และการเดินอากาศ
- พ.ศ. 2558 ได้มีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิและภาระผูกพัน ในส่วนที่เป็นงานเกี่ยวกับท่าอากาศยานและสำนักพัฒนาท่าอากาศยาน กรมการบินพลเรือนไปเป็นของ “กรมท่าอากาศยาน” กระทรวงคมนาคม
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้คือ โดยที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศได้ตรวจพบข้อบกพร่องในด้านโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของกรมการบินพลเรือน โดยเฉพาะการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ระหว่างหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและหน่วยงานผู้ให้บริการ โดยได้ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ดังนี้
แยกงานกำกับดูแลออกเป็น “สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย”
แยกงานเกี่ยวกับการค้นหาและช่วยเหลือกรณีอากาศยานประสบภัย งานนิรภัยการบิน และงานสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุอากาศยานให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม
รวมถึงเปลี่ยนชื่อกรมการบินพลเรือน เป็น “กรมท่าอากาศยาน” เพื่อให้สอดคล้องกับงานในหน้าที่หลักที่ปรับปรุงใหม่คือ การให้บริการท่าอากาศยาน
พันธกิจ
- พัฒนาท่าอากาศยานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสามารถรองรับการเจริญเติบโตด้านคมนาคมทางอากาศ
- ดำเนินงานท่าอากาศยานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- บริหาจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์
- พัฒนาท่าอากาศยานเพื่อส่งเสริมโครงข่ายการบินให้ครอบคุมทั่วถึงทุกพื้นที่
- ปรับปรุง บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- พัฒนา และปรับปรุงการบริหารจัดการท่าอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาองค์กรภายใต้หลักธรรมาภิบาล
- บริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ